ผานยกร่อง ตัวช่วยเตรียมแปลงปลูกพืชไร่ให้ง่าย รวดเร็ว ได้ผลดี
ผานยกร่อง ผานคู่ใจเกษตรกรไทย ตัวช่วยเตรียมแปลงปลูกพืชไร่ ให้ง่าย ได้ผลดี
นอกจากเครื่องจักรกลการเกษตรที่ใช้สำหรับปรับโครงสร้างดินก่อนปลูกพืชแล้ว ยังมีอุปกรณ์การเกษตรที่จะช่วยจัดการเตรียมแปลงปลูกพืชไร่โดยไม่ต้องเปลืองแรงพี่น้องเกษตรกรอย่าง ผานยกร่อง อยู่อีกด้วย
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าผานยกร่องคืออะไร แล้วจะมาช่วยทำงานเกษตรได้อย่างไร เพราะเหตุนี้บทความนี้จะมาแนะนำ ผานยกร่อง ให้พี่น้องเกษตรกรได้ทำความรู้จักกัน แต่ต้องบอกเลยว่าสำหรับงานพืชไร่แล้ว เจ้าเครื่องจักรการเกษตรยกร่องตัวนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับชาวพี่น้องเกษตรกรอย่างแน่นอน
ผานยกร่องคืออะไร? รู้จักเครื่องมือเกษตรที่ช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันก่อนว่าผานยกร่องคืออะไร มีหลักการทำงานยังไงบ้าง เพื่อที่จะได้เห็นภาพการทำงานของเจ้าผานตัวนี้กันมากขึ้น
รู้จักความหมายและการทำงานของผานยกร่อง
ผานยกร่อง คือ อุปกรณ์เตรียมแปลงเกษตรติดรถแทรกเตอร์ เป็นโครงเหล็กที่มีจานไถประกอบหันหน้าขนานกันสองข้างในลักษณะองศาเอียงขึ้นเล็กน้อย ซึ่งจานไถตรงนี้จะทำหน้าที่ในการ ไถดันดิน และ ยกดินขึ้นมาให้ขึ้นเป็นร่อง ทำให้ชาวเกษตรกรสามารถจัดการแปลงปลูกพืชได้ง่าย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
ความแตกต่างระหว่างผานยกร่อง ผานหัวหมู และผานจาน
เนื่องจากผานมีหลายชนิด เราจะมาอธิบายถึงความแตกต่างของผานแต่ละแบบเมื่อเทียบกับผานยกร่องกันว่ามีลักษณะการใช้งานอย่างไร และใช้ในขั้นตอนไหนบ้าง พี่น้องเกษตรกรจะได้เรียงลำดับการใช้ผานได้อย่างถูกต้อง
- ผานยกร่อง ใช้สำหรับเตรียมร่องแปลงเกษตรก่อนการลงพืช ทำเป็นขั้นตอนสุดท้ายหลังเตรียมดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว
- ผานหัวหมู มีลักษณะใบผานเป็นใบมีด ทรงสี่เหลี่ยมคล้ายขวาน ทำหน้าที่ตัดดินก้อนใหญ่ให้เล็กละเอียด มักจะใช้ในการไถเปิดหน้าดินในพื้นที่การเกษตรใหม่
- ผานจาน เป็นเครื่องมือสำหรับเตรียมดินให้พร้อมสำหรับการเพาะปลูก มีหลายประเภท เช่น ผานบุกเบิก สำหรับเปิดหน้าดิน หรือผานพรวน สำหรับบดย่อยดินให้ละเอียด ร่วนซุย และนุ่มฟู ลักษณะจานไถจะเป็นใบจักร หรือใบกลมเหมือนกับผานยกร่อง แต่จะมีจานไถเรียงตัวกันแนวราบประมาณ 4-8 ใบ
ทำไมเกษตรกรยุคใหม่ถึงนิยมใช้ผานยกร่องเตรียมแปลง
การทำเกษตรนั้น หากใครได้ผลผลิตเร็วก็จะมีโอกาสในการขายที่มากกว่าคนอื่น ดังนั้นการเกษตรยุคใหม่จึงได้มีการคิดค้นเครื่องมือการเกษตรที่จะช่วยลดเวลาการทำงานของเกษตรกรให้น้อยลง สามารถเริ่มปลูกพืชได้เร็วขึ้น ซึ่งผานยกร่องก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ตอบโจทย์มาก ๆ
ถ้าสงสัยว่าทำไมเกษตรกรยุคใหม่ถึงหันมาใช้ผานยกร่องเตรียมแปลงกันมากขึ้น นี่คือเหตุผลที่ผานยกร่องกลายเป็นอุปกรณ์ที่น่าลงทุนเพื่อการเกษตรในยุคปัจจุบัน
- ลดแรงงานคน เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ติดกับรถไถ ทำให้ไม่ต้องใช้แรงงานเพื่อทำการขุดยกร่องด้วยตัวเอง เพียงแค่ขับรถไถก็สามารถยกร่องแปลงเกษตรได้
- ประหยัดเวลา เตรียมแปลงดินได้เสร็จเร็วมากขึ้น
- เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและความโปร่งของดิน ด้วยรูปแบบและขนาดของจานไถที่ขุดได้ลึก พลิกดินด้านล่างขึ้นมารับอากาศ ทำให้โครงสร้างดินโปร่ง เหมาะสำหรับการเพาะปลูก
- เตรียมแปลงดินรวดเร็วและเรียบร้อย สามารถปรับแต่งขนาดความกว้างของร่องแปลงตามต้องการได้
ผานยกร่องเหมาะกับการปลูกพืชอะไรบ้าง?
สำหรับการใช้งานผานยกร่องนั้น พี่น้องเกษตรกรสามารถใช้ผานยกร่องเตรียมแปลงปลูกพืชได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นการใช้ผานยกร่องปลูกมันสำปะหลัง ปลูกอ้อย ข้าวโพด หรือใช้ผานยกร่องพืชไร่ที่ต้องการร่องปลูกลึก เรียกได้ว่าครบทุกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของคนไทยเลยทีเดียว
ส่วนประกอบของผานยกร่องและการทำงาน
รู้จักการทำงานและชนิดของพืชไร่ที่ใช้ผานยกร่องเตรียมแปลงดินกันไปได้แล้ว เรื่องส่วนประกอบของผานยกร่องก็เป็นสิ่งสำคัญที่พี่น้องเกษตรกรควรรู้ เพื่อที่จะได้รู้จักการทำงานของแต่ละส่วนและนำไปใช้ได้ถูกวิธีมากขึ้น โดยผานยกร่องจะมีส่วนประกอบหลัก ๆ อยู่ 4 ส่วน ได้แก่ ใบผาน โครงตัวถัง ระบบปรับระดับร่อง และการต่อพ่วงกับรถไถ
ลักษณะใบผาน
ผานยกร่องจะใช้ใบผานทรงกลม ลักษณะเป็นจานหลุมขนาดใหญ่ ทำจากเหล็กโบรอนซึ่งเป็นเหล็กชนิดพิเศษ มีความแข็งแรงทนทาน รับสภาพงานหนักได้ดี ใบผานจะทำหน้าที่ขุดและโกยดินขึ้นมาเป็นร่องในความลึกที่พอดีพอเหมาะ ช่วยให้เกษตรกรเตรียมแปลงได้เรียบร้อยและรวดเร็ว
โครงตัวถัง
โครงตัวถังหลักของผานยกร่องจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ทำจากเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรงสูง มีหน้าที่ยึดส่วนประกอบต่าง ๆ ของผานยกร่องเอาไว้ด้วยกัน เช่น เพลาหมุน ล้อ หรือใบมีด
ระบบปรับระดับร่อง
หัวใจหลักที่ทำให้ผานยกร่องเป็นเครื่องมือการเตรียมแปลงที่มีประสิทธิภาพสูง คือ ระบบปรับระดับร่อง โดยพี่น้องเกษตรกรสามารถปรับให้มีความกว้าง หรือความลึกที่ตัวเองต้องการหรือปรับตามความเหมาะสมของพืชที่ต้องการปลูกได้ และยังเป็นส่วนประกอบที่ทำให้การไถยกร่องนั้นสม่ำเสมอเท่ากันทั่วพื้นที่อีกด้วย
การต่อพ่วงกับรถไถ
ผานยกร่องสามารถใช้ต่อพ่วงกับรถไถได้หลากหลายรุ่น โดยหลัก ๆ จะเป็นการต่อพ่วง 3 จุดยึดตามมาตรฐาน ในการต่อพ่วง พี่น้องเกษตรกรอย่าลืมตรวจสอบช่วงแขนล่างบริเวณจานไถว่าขนานเท่ากันดีหรือไม่ เพื่อที่จะไถได้ตรง ไม่เอนไปข้างใดข้างหนึ่ง และแนะนำให้ต่อพ่วงกับรถไถบนพื้นที่แข็ง ไม่ยุบตัวตามน้ำหนัก เพื่อที่จะได้ตั้งค่าได้ง่าย
วิธีการใช้ผานยกร่องให้ได้ร่องที่ลึกและเรียงตัวสวย
ใช้ผานยกร่องปลูกอ้อย ปลูกพืชไร่ต่าง ๆ มีวิธีใช้ยังไงให้ได้ร่องลึก เรียงตัวสวย สม่ำเสมอทั่วทั้งพื้นที่ หลักการหลัก ๆ มีแค่ 3 อย่างเท่านั้น ดังนี้
1. ใช้ความเร็วในการขับรถไถอย่างเหมาะสม
เพื่อให้การไถเรียบร้อยสม่ำเสมอทั่วทุกจุด พี่น้องเกษตรกรควรขับรถไถด้วยความเร็วที่เหมาะสมและใช้ความเร็วเท่ากันจนจบงาน เพื่อที่ผานจะทำหน้าที่ยกร่องได้ในปริมาณเท่า ๆ กันในความลึกที่พอดี
2. ปรับตั้งระดับล้อให้เท่ากัน
ระดับล้อถือเป็นหัวใจสำคัญของผานยกร่องเลย เพราะถ้าตั้งค่าระดับล้อไม่เท่ากัน อาจทำให้การขุดไถดินแต่ละข้างลึกบ้างตื้นบ้าง ไม่สม่ำเสมอ เพราะฉะนั้นให้พี่น้องเกษตรกรปรับตั้งค่าล้อบนพื้นเรียบ และลองไถในพื้นที่เล็ก ๆ ก่อนว่าระดับความลึกสม่ำเสมอดีไหม ก่อนที่จะเริ่มไถพื้นที่จริง
3. ปรับระยะห่างร่องให้เหมาะกับชนิดพืช
พืชแต่ละชนิดก็ต้องการระยะห่างในการปลูกไม่เท่ากัน ข้อนี้พี่น้องเกษตรกรน่าจะทราบดีกันอยู่แล้ว ดังนั้นก่อนไถให้ปรับระยะห่างร่องให้เหมาะกับพืชที่ต้องการปลูกก่อน ทั้งนี้ก็ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชด้วยนะ
เทคนิคบำรุงรักษาผานยกร่องให้ใช้งานได้ยาวนาน
ไหน ๆ ก็ลงทุนซื้อเครื่องมือการเกษตรแล้ว จะใช้งานผานยกร่องได้นานต้องไม่ลืมที่จะคอยดูแลบำรุงรักษา ทั้งตรวจเช็กสภาพและความสะอาดตามจุดต่าง ๆ โดยพี่น้องเกษตรกรควรทำตามเทคนิคดังนี้
1. เช็กสภาพใบผานก่อนและหลังการใช้งาน
ก่อนการใช้งานผานยกร่อง ให้พี่น้องเกษตรกรเช็กว่ามีน็อตส่วนไหนหลวม หรือขันไม่แน่นไหม หากมีให้ทำการแก้ไขให้เรียบร้อย รวมถึงเช็กเศษดินเศษหญ้าที่อาจตกค้างบนเครื่องมือ และความสมบูรณ์ของใบผาน
หลังใช้งานผานยกร่อง ตรวจสอบความสมบูรณ์ใบผานว่ามีจุดไหนร้าว แตก และเช็กจำนวนน็อตว่าอยู่ครบหรือไม่ก่อนเก็บอุปกรณ์
2. ทำความสะอาดหลังใช้งาน
หลังใช้งานผานยกร่องเสร็จเรียบร้อยแล้ว พี่น้องเกษตรกรควรทำความสะอาดทั้งบริเวณใบผานและโครงไถให้เรียบร้อย เพื่อไมให้เศษดินหรือเศษหญ้าติดอัดแน่นจนเอาออกยาก จนส่งผลให้ลดประสิทธิภาพการทำงานของผานยกร่องในภายหลังได้
3. การเก็บรักษาและหลีกเลี่ยงสนิม
การเก็บรักษาผานยกร่อง ควรเก็บในที่แห้ง หลีกเลี่ยงความชื้น อาจทาน้ำมันเคลือบใบผานเพื่อป้องกันสนิมเพิ่มเติมได้ นอกจากนี้ยังเป็นการรักษาใบผานให้แข็งแรงทนทานอีกด้วย
ราคาและวิธีเลือกซื้อผานยกร่องให้คุ้มค่า
มาถึงคำถามที่พี่น้องเกษตรกรหลายคนอาจจะสงสัย นั่นคือ ราคาผานยกร่อง โดยทั่วไปแล้ว ผานยกร่องจะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 30,000 - 40,000 บาท ซึ่งพี่น้องเกษตรกรควรเลือกผานคุณภาพที่สามารถทำงานได้เหมาะสมกับพื้นที่การเกษตรและชนิดพืชไร่ของตนเอง เพื่อที่จะได้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพยาวนาน คุ้มค่ากับการลงทุน
ในการเลือกซื้อผานยกร่อง พี่น้องเกษตรกรสามารถคำนึงได้ตามปัจจัยดังต่อไปนี้
- ราคา
- ชนิดของพืชที่ต้องการปลูก
- คุณภาพของวัสดุใบผานและโครงสร้าง
- ความสามารถในการปรับตั้งค่าของผานยกร่อง
หากยังไม่รู้จะซื้อผานยกร่องที่ไหนดี แนะนำผานยกร่องจาก CMT ผานที่ถูกออกแบบและผลิตมาเพื่อให้ใช้งานได้ในสภาพดินหลากหลาย ใช้ได้กับทั้งแปลงเล็กและแปลงใหญ่ จานไถผลิตจากเหล็กโบรอน มีความแข็งแบบพิเศษ ทนทาน พร้อมลุยงานหนัก เหมาะกับใช้ยกร่องปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด และอ้อย
ผานยกร่อง ผู้ช่วยสำคัญของเกษตรกรยุคใหม่
ผานยกร่อง เครื่องมือการเกษตรช่วยเตรียมแปลงปลูกพืชอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความสามารถในการไถอย่างสม่ำเสมอ เรียบตรง ความลึกกำลังพอดี ทำให้เป็นที่นิยมในหมู่เกษตรกรรุ่นใหม่ เหมาะกับงานเกษตรที่ต้องการลดต้นทุนแรงงาน แต่ยังได้แปลงเกษตรที่มีคุณภาพพร้อมเพาะปลูก ถือเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าในยุคที่ต้องการเกษตรแม่นยำและรวดเร็ว
หากพี่น้องเกษตรกรกำลังมองหาผานยกร่องคุณภาพดี ทนทาน ใช้งานได้ในทุกสภาพดินทั้งแปลงเล็กใหญ่ เลือกผานยกร่องจาก CMT เราคือผู้ผลิต และออกแบบผานจากเหล็กโบรอนคุณภาพสูง แข็งแรง อยู่คู่งานเกษตรได้ยาว ๆ ใช้ได้ทั้งกับดินอ่อน ดินแข็ง หรือแม้แต่ดินเปียก ตอบโจทย์ทุกไร่สวนของพี่น้องเกษตรกร
สนใจผลิตภัณฑ์ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านช่องทาง
- CMT Thailand เบอร์ +66 38 273 250 to 7
- Facebook Page: Cmt ชลบุรีเมืองทอง ไถดีที่สุด -เพจหลักเพจเดียว
- สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน LINE Official @cmt1955