แชร์

เทคนิคเตรียมดินปลูกอ้อยข้ามแล้งฉบับเกษตรกรตัวจริง ผลผลิต 30 ตันต่อไร่ไม่ไกลเกินเอื้อม

อัพเดทล่าสุด: 2 พ.ค. 2025
168 ผู้เข้าชม

เทคนิคเตรียมดินปลูกอ้อยข้ามแล้งฉบับเกษตรกรตัวจริง ผลผลิต 30 ตันต่อไร่ไม่ไกลเกินเอื้อม

พี่น้องชาวเกษตรกรคงทราบดีอยู่แล้วว่า อ้อย เป็นพืชที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอันดับต้น ๆ แต่ราคาขายผลผลิตเทียบกับต้นทุนแล้วดูจะไม่คุ้มค่าเหนื่อยเท่าไหร่ แล้วจะทำยังไงดีให้สามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่เพื่อเพิ่มกำไรได้บ้าง?

เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้ผลผลิตอ้อยปริมาณเยอะ คุ้มค่าแรง บทความนี้ CMT จะมาแนะนำเทคนิคเตรียมดินปลูกอ้อยให้ได้ 30 ตันต่อไร่ บอกครบทั้งสาเหตุ วิธีแก้ไข และเทคนิคที่จะช่วยให้การปลูกอ้อย 30 ตันต่อไร่เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ และช่วยให้มีกำไรคุ้มทุนได้อีกเยอะ ไม่รอช้า ไปดูกันเลยดีกว่าว่าจะมีวิธียังไงบ้าง

ทำไมการเตรียมดินปลูกอ้อยจึงสำคัญต่อผลผลิต

การปลูกอ้อยซึ่งเป็นพืชหมุนเวียนติดต่อกันหลายปีโดยที่ไม่ได้มีการบำรุงดินหรือปรับสภาพดินปลูกอ้อยให้พร้อม จะทำให้ดินไม่มีคุณภาพเหมาะสมพอสำหรับการเพาะปลูก ทั้งแน่น แข็ง รากชอนไชหาอาหารได้ยาก ดินเค็ม ธาตุอาหารน้อย ส่งผลให้อ้อยเจริญเติบโตช้า และให้ผลผลิตไม่งามได้

โดยทั่วไปแล้ว ดินที่ไม่ได้มีการปรับสภาพดินปลูกอ้อย จะได้ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 9.3 ตันต่อไร่ แต่ถ้าหากมีการบำรุงดิน ปรับปรุงดินให้มีคุณภาพก่อนการลงอ้อยอยู่เสมอ ร่วมกับการเพิ่มเทคนิควิธีอื่น ๆ เข้าไปด้วย ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสได้ผลผลิตมากสูงสุดถึง 30 ตันต่อไร่เลยทีเดียว

วิเคราะห์สภาพดินก่อนปลูกอ้อย

สิ่งสำคัญอันดับแรก ๆ ของการปลูกอ้อย รวมถึงพืชต่าง ๆ นั่นคือ ดิน ดังนั้นก่อนที่พี่น้องเกษตรกรจะลงอ้อย แนะนำให้ทำการวิเคราะห์สภาพดินเพื่อที่จะได้รู้ถึงปัญหาของดินด้วยวิธีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ค่า pH หรือค่าความเป็นกรดของดิน และตรวจเช็กธาตุอาหาร การวิเคราะห์ดินจะทำให้รู้ถึงปัญหาเพื่อทำการแก้ไขปรับปรุงเตรียมดินปลูกอ้อยได้ตรงจุดขึ้น

วิธีเก็บตัวอย่างดิน สามารถทำตามวิธีได้ดังนี้

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • จอบ
  • เสียม
  • ถังพลาสติก
  • พลั่ว
  • ถุงพลาสติก
  • แผ่นพลาสติกหรือผ้า

ช่วงเวลาการเก็บตัวอย่าง

  • หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อย

ขั้นตอนการเก็บตัวอย่างดิน

  • เคลียร์พื้นที่หน้าดิน กวาดเศษผลผลิตและวัชพืชออกให้เรียบร้อย
  • ใช้จอบขุดดิน ความลึกประมาณ 15 เซนติเมตร
  • ใช้พลั่วตักดินขึ้นมา โดยกะความกว้างของปริมาณดินให้อยู่ที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตร
  • ทำแบบนี้ทั่วไร่ โดยให้เก็บตัวอย่างดินประมาณ 15-20 จุดต่อไร่

ขั้นตอนการเตรียมดินก่อนนำไปวิเคราะห์

  • เทดินบนแผ่นพลาสติกหรือผ้าเพื่อไล่ความชื้น โดยให้ตากในที่ร่มจนแห้ง ห้ามตากแดดโดยเด็ดขาด แนะนำให้ย่อยดินเป็นก้อนเล็ก ๆ เพื่อเคลียร์ความชื้นได้อย่างทั่วถึง
  • นำดินแต่ละแปลงที่ทำการตากแห้งไว้มาเกลี่ยรวมกันเป็นรูปวงกลม แบ่งเป็น 4 ส่วน
  • เก็บดิน 1 ส่วนใส่ถุงพลาสติก อย่าลืมจดรายละเอียดของดินว่าอยู่แปลงไหน เพื่อที่จะได้ปรับปรุงดินได้ถูกแปลง
  • ส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ได้ที่ สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
  • เมื่อทางสำนักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะส่งผลตีความวิเคราะห์ดินกลับมาพร้อมวิธีปรับปรุงดินเพิ่มเติม รวมถึงแนะนำการใช้ปุ๋ยอีกด้วย

ขั้นตอนการไถพรวนและปรับสภาพดินให้เหมาะกับการปลูกอ้อย

นอกจากการวิเคราะห์ดินแล้ว พี่น้องชาวเกษตรกรรู้หรือไม่ว่า การไถพรวนดินก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการเตรียมดินปลูกอ้อยไม่แพ้กันเลย เพราะอย่างที่ได้บอกไปว่าการปลูกอ้อยหมุนเวียนซ้ำกันไปมาจะทำให้ดินแข็ง สภาพดินไม่พร้อมสำหรับการเจริญเติบโตของพืช การไถพรวนดินปลูกอ้อยก็จะช่วยบดย่อยดินให้ร่วนซุยละเอียด อุ้มน้ำได้ดี ช่วยเพิ่มสารอาหารที่จำเป็นต่ออ้อยได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการไถก็จะมี 2 แบบ ได้แก่ ไถดะ และไถแปร

ไถดะ ขั้นตอนแรกของการเปิดหน้าดิน

ไถดะ คือขั้นตอนการเปิดหน้าดินที่แข็งให้ละเอียด ปรับสภาพดินให้มีความพร้อมร่วมกับการกำจัดวัชพืชไปในตัว ลักษณะการไถดะคือ ไถตามแนวยาวของพื้นที่แปลง โดยอาจจะใช้ผานบุกเบิก หรือผานสับกลบในกรณีที่มีวัชพืชหรือตอซังอยู่เยอะ 

พี่น้องเกษตรกรรู้หรือไม่ว่า การใช้ผานช่วยกำจัดตอซังนอกจากจะช่วยเพิ่มปุ๋ยให้กับอ้อยแล้ว ยังช่วยลดการเผาที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM 2.5 ซึ่งทำลายสุขภาพปอดของเรา ๆ อีกด้วย นอกจากนี้การใช้ผานคุณภาพดียังทำให้สามารถไถเปิดหน้าดินได้ง่ายขึ้นแม้ในพื้นที่ดินแข็ง ช่วยลดระยะเวลาการเตรียมหน้าดิน ไม่ต้องรอให้ฝนตกก็สามารถเตรียมดินปลูกอ้อยได้

ไถแปร บดย่อยดินละเอียด ดินนิ่มฟูพร้อมกักเก็บน้ำ

ไถแปร เป็นการไถในขั้นตอนที่ 2 หลังจากทำการไถดะ จะเป็นการพลิกย่อยดินให้มีความละเอียด ร่วนซุย พร้อมสำหรับการปลูกอ้อยมากขึ้น และยังเป็นการทำลายวัชพืชเล็ก ๆ ที่อาจยังหลงเหลืออยู่จากการไถครั้งแรก ขั้นตอนการไถแปรมักจะทำหลังจากไถดะประมาณ 1-2 สัปดาห์ นิยมใช้เป็นผานพรวน เครื่องมือสำหรับการบดย่อยดินให้เล็กลงและนุ่มฟูมากยิ่งขึ้น

นอกจากการไถพรวนแล้ว ยังมีเทคนิคเรื่องการปรับสภาพดินที่พี่น้องชาวเกษตรกรควรรู้อีกด้วย ดังนี้

  • การไถพรวนดิน ควรไถให้มีความลึกอยู่ที่ประมาณ 30-40 เซนติเมตร
  • สามารถใช้ปุ๋ยคอกหรืออินทรียวัตถุต่าง ๆ ร่วมกับการไถพรวน เพื่อเพิ่มความร่วนซุยและเพิ่มธาตุอาหารที่เหมาะสมกับอ้อยในดิน

เทคนิคการปรับปรุงดิน เพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมปุ๋ยและน้ำ

มาถึงกับเทคนิคที่ชาวเกษตรกรไร่อ้อยรอคอย คือ เทคนิคการปรับปรุงดินให้ปลูกอ้อยได้ 30 ตันต่อไร่นั่นเอง เทคนิคที่ทางเราจะแนะนำนี้ เป็นวิธีเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมปุ๋ยและน้ำ ช่วยให้อ้อยเจริญเติบโตได้ดีและเพิ่มโอกาสได้ผลผลิตที่มากขึ้น โดยเทคนิคปลูกอ้อย 30 ตันต่อไร่ พี่น้องเกษตรกรสามารถทำตามวิธีได้ดังต่อไปนี้

เทคนิคใช้โดโลไมต์/ยิปซัมปรับ pH ดิน 

ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ถือเป็นศัตรูที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นจึงควรใช้ปูนโดโลไมต์หรือยิปซัมเพื่อปรับค่า pH ดินให้เป็นกลาง เหมาะสำหรับการปลูกพืช นอกจากนี้โดโลไมต์ยังช่วยทำให้ดินร่วนซุย กักเก็บน้ำได้ดี ป้องกันโรคและแมลงได้อีกด้วย

เทคนิคคลุมหน้าดินด้วยฟาง

การคลุมหน้าดินด้วยฟางจากยอดอ้อย หรือใบอ้อย จะช่วยรักษาระดับความชื้นในดินให้เพียงพอต่อความต้องการของอ้อย ลดปริมาณวัชพืช และยังเป็นอินทรียวัตถุอย่างดีที่เมื่อย่อยสลายแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อคุณภาพดินในระยะยาวอีกด้วย

เลือกพันธุ์อ้อยให้เหมาะกับสภาพดินและภูมิอากาศ

การเลือกพันธุ์อ้อยก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตให้ปลูกอ้อย 30 ตันต่อไร่ได้เหมือนกัน ซึ่งพี่น้องเกษตรกรสามารถเลือกพันธุ์อ้อยได้จากปัจจัยเหล่านี้

  • เลือกจากลักษณะลำตรงยาว ลำใหญ่ มีความแน่น สะอาด เพื่อเป็นการเช็กว่าอ้อยแข็งแรง ทนต่อโรคและการรบกวนของแมลง
  • คุณภาพความหวานของอ้อย โดยความหวานที่ดีจะต้องไม่ต่ำกว่า 12 c.c.s
  • กาบใบอ้อยต้องลอกง่าย ไม่มีขนด้านหลัง
  • ใบอ้อยควรมีความยาวพอประมาณ กว้าง และสีเขียวสด 
  • เลือกพันธุ์อ้อยที่มีผลผลิตเฉลี่ย 18 ตันต่อไร่
  • เลือกอ้อยที่ทนแล้ง ทนหนอนกอและโรคใบขาว

หากเลือกพันธุ์อ้อยปลูกดี เหลือตอไว้เยอะ ก็จะทำให้อ้อยตอเหล่านั้นกลายเป็นผลกำไรที่สามารถต่อยอดเพิ่มผลผลิตได้ โดยวิธีการปลูกอ้อยตอให้ได้ผลนั้น จะเป็นการไว้ใบอ้อยคลุมดินประมาณ 1-2.5 ตันต่อไร่เพื่อเพิ่มความชื้นในดิน ป้องกันไม่ให้วัชพืชงอกมารบกวนอ้อย และส่งผลให้ดินมีสารอาหารเพียงพอที่จะทำให้สัตว์เล็ก ๆ ที่มีประโยชน์อย่างไส้เดือน ตัวเบียน หรือตัวห้ำ มาคอยรักษาสมดุลในการกำจัดศัตรูพืชอีกด้วย

รวมเทคนิคจัดการแปลงปลูกอ้อยเพื่อให้ได้ผลผลิต 30 ตันต่อไร่

การจัดแปลงปลูกอ้อยและการจัดการดูแลไร่อ้อยก็เป็นสิ่งสำคัญที่พี่น้องเกษตรกรควรใส่ใจ เพราะจะส่งผลต่อปริมาณผลผลิตโดยตรง หากต้องการปลูกอ้อย 30 ตันต่อไร่ แนะนำให้ทำตามวิธีดังนี้เลย

1. การวางแถวและระยะปลูก

วิธีที่จะช่วยเพิ่มจำนวนผลผลิตต่อไร่ได้อย่างเห็นได้ชัดวิธีแรก คือการเพิ่มจำนวนลำอ้อยต่อแถว และจัดระยะปลูกให้ชิดขึ้น โดยแนะนำให้ปลูกเป็นรูปแบบ 1 ร่อง 4 แถว แต่ละแถวห่างกัน 20 เซนติเมตร ร่องปลูกมีความกว้าง 80 เซนติเมตร และปลูกอ้อยที่ความลึกประมาณ 25 เซนติเมตร

พี่น้องเกษตรกรสามารถใช้อุปกรณ์เตรียมร่องปลูกอ้อยที่ช่วยให้จัดการเรื่องยกร่องแปลงปลูกพืชให้เสร็จอย่างรวดเร็วได้ด้วย ผานยกร่อง อุปกรณ์ติดรถไถที่สามารถปรับแต่งขนาดร่องได้ตามต้องการ เหมาะสำหรับงานเกษตรที่ต้องการความแม่นยำ ลดแรงงานชาวสวน

2. การให้น้ำและใส่ปุ๋ย

  • การให้น้ำ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความหวานของอ้อยโดยตรง ดังนั้นจึงควรรดน้ำให้พอเหมาะพอดีกับความต้องการของอ้อย 
  • การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยในปริมาณที่แม่นยำ ทั่วถึงครบทุกต้น และควรใส่ปุ๋ยในช่วงที่อ้อยมีอายุประมาณ 9-10 เดือน

3. การป้องกันวัชพืชรบกวนในช่วงต้น

ปัญหาวัชพืชเป็นสิ่งที่รบกวนการเจริญเติบโตของอ้อยได้มากที่สุด ดังนั้นในช่วงแรก ๆ พี่น้องเกษตรกรควรกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีอุปกรณ์ที่จะช่วยกำจัดวัชพืชตามร่องอ้อยได้แบบไม่รบกวนต้นอ้อย แถมยังช่วยประหยัดเวลาและกำลังคนได้อย่าง ซี่คราดสปริง ตัวช่วยกำจัดวัชพืชที่พี่น้องเกษตรกรควรมี เพราะสามารถปรับความกว้าง-ยาวของซี่คราดให้เหมาะกับร่องอ้อยของเราได้ และยังช่วยเพิ่มการระบายอากาศของดินอีกด้วย

แหล่งที่มาของข้อมูล: npkthailand.com

ข้อควรระวังที่เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงในการเตรียมดินปลูกอ้อย

ในการเตรียมดินปลูกอ้อย พี่น้องเกษตรกรควรคำนึงถึงปัจจัยข้อควรระวังดังต่อไปนี้

1. ไม่วิเคราะห์ดินก่อน การวิเคราะห์ดินจะช่วยให้พี่น้องเกษตรกรสามารถปรับสภาพดินปลูกอ้อยได้อย่างถูกต้องตรงจุด และพอดีกับปัญหาของดินที่พบ 

2. ไถลึกเกินไปหรือตื้นเกินไป การไถพรวนดินปลูกอ้อย ควรไถให้มีความลึกพอดี โดยความลึกที่แนะนำจะอยู่ที่ประมาณ 30-40 เซนติเมตร

3. ใส่ปุ๋ยผิดช่วงหรือผิดสูตร การใส่ปุ๋ยอ้อย ควรใส่ในช่วงที่อ้อยปลูกได้ประมาณ 9-10 เดือน เพราะจะเป็นช่วงที่ต้นอ้อยต้องการเพิ่มน้ำหนัก และควรใส่ปุ๋ยสูตรยูเรีย

เพิ่มผลผลิตอ้อย 30 ตันต่อไร่ การเตรียมดินดี มีชัยไปกว่าครึ่ง

การปลูกอ้อย 30 ตันต่อไร่ จะไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป หากพี่น้องเกษตรกรทำตามเทคนิควิธีที่ทางเรา CMT ได้รวบรวมมาแนะนำ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการปลูกอ้อยต้องใส่ใจตั้งแต่การเลือกพันธุ์อ้อย และสำคัญที่สุดคือการเตรียมดินให้มีคุณภาพเหมาะสมกับการเพาะปลูก

ถึงแม้การเตรียมดินจะเป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างต้องใช้เวลา แต่พี่น้องชาวสวนสามารถลดระยะเวลาการเตรียมดินได้ด้วย "ผาน" อุปกรณ์จักรกลการเกษตรที่จะมาช่วยทุ่นแรงในการเตรียมดินปลูกอ้อยให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

หากพี่น้องเกษตรกรกำลังมองหาผานคุณภาพดี ทนทาน ใช้งานได้จริงทุกสภาพแปลง CMT คือตัวจริงเรื่องเครื่องมือเกษตร เราออกแบบและผลิตผานจากเหล็กโบรอนคุณภาพสูง ใช้ได้ทั้งในดินอ่อน ดินแข็ง หรือแม้แต่ดินเปียก ตอบโจทย์ทุกไร่สวนของพี่น้องเกษตรกร

สนใจผลิตภัณฑ์ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านช่องทาง


บทความที่เกี่ยวข้อง
เกษตรกรต้องรู้! เหล็กโบรอน vs เหล็กคาร์บอน เลือกแบบไหนดี? เจาะลึกข้อแตกต่างก่อนเลือกซื้อจานไถ
จานไถ เลือกวัสดุแบบไหนดี แนะนำข้อแตกต่างระหว่างเหล็กโบรอน และเหล็กคาร์บอน แบบไหนแข็งแรงทนทาน อ่านข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพื่อความคุ้มค่าในการลงทุน
เทคนิคการใช้น้ำหยดให้อ้อยงามในหน้าแล้ง เพิ่มผลผลิตเต็มไร่
เทคนิคปลูกอ้อยหน้าแล้งด้วย “ระบบน้ำหยด” วิธีที่จะช่วยให้อ้อยนั้นเติบโตผ่านหน้าร้อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้นทุนแรงงานต่ำ อ้อยสมบูรณ์ ได้ผลผลิตสูง
ปุ๋ยอินทรีย์ VS ปุ๋ยเคมี ต่างกันยังไง? ใช้อย่างไรให้เหมาะ?
แนะนำและอธิบายความแตกต่างระหว่างปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี เลือกยังไงให้ดี มีข้อควรระวังในเรื่องของการใช้ปุ๋ยให้เหมาะกับพืชอย่างไรบ้าง พร้อมเคล็ดลับการใช้ปุ๋ย
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy