แชร์

รู้ก่อนปลูก! 5 โรคพืชที่มักระบาดช่วงหน้าฝน พร้อมวิธีรับมืออย่างปลอดภัย

อัพเดทล่าสุด: 24 มิ.ย. 2025
143 ผู้เข้าชม

รู้ก่อนปลูก! 5 โรคพืชที่มักระบาดช่วงหน้าฝน พร้อมวิธีรับมืออย่างปลอดภัย

โรคพืช เป็นฝันร้ายที่พี่น้องชาวเกษตรกรไม่อยากเจอที่สุด เพราะทำให้สูญเสียผลผลิต และยังมีโอกาสติดโรคได้ทั้งไร่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่พืชมีโอกาสติดโรคมากที่สุดจากการที่ความชื้นในอากาศสูง แต่อากาศในช่วงกลางวันอบอ้าว ทำให้เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายได้ง่าย

การรู้จักโรคพืชเอาไว้ล่วงหน้าถือเป็นสิ่งที่พี่น้องเกษตรกรต้องให้ความสำคัญ เพื่อที่จะได้จับสังเกตได้ไว และหาวิธีป้องกันได้ทันเวลา ดังนั้นบทความนี้เราได้รวม 5 โรคพืชที่พบบ่อยในหน้าฝน พร้อมแนะนำวิธีป้องกันโรคพืชสำหรับเกษตรกรมือใหม่และมืออาชีพ

ทำไมหน้าฝนจึงเป็นช่วงที่โรคพืชมักระบาด?

พี่น้องเกษตรกรรู้หรือไม่ว่าทำไมหน้าฝนถึงเป็นช่วงที่พบโรคพืชได้บ่อยมากที่สุด ทั้งที่ถือเป็นช่วงที่ดีในการปลูกพืชอย่างมากเนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอ ต้องบอกว่าด้วยภูมิอากาศในประเทศไทยเป็นแบบร้อนชื้น ทำให้ถึงแม้จะมีน้ำฝนหล่อเลี้ยงพืชเพียงพอ แต่ในทางกลับกันในช่วงกลางวันก็มีอุณหภูมิสูง และเมื่อผสมกับระดับความชื้นในอากาศจึงกลายเป็นความอบอ้าว ซึ่งเป็นสภาวะที่เชื้อราหรือแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีนั่นเอง

นอกจากนี้แล้วหากไม่ได้เตรียมการระบายน้ำให้ดี น้ำขังในแปลงบ่อย พืชก็จะอ่อนแอลงจากปริมาณความชื้นที่ได้รับมากเกินจำเป็น จนทำให้มีโอกาสติดโรคพืชซึ่งมาจากแมลงพาหะ หรือโรคที่แพร่ระบาดผ่านลมฝนได้

5 โรคพืชที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าฝนที่ชาวสวนต้องระวัง!

เพราะผลผลิตถือเป็นหัวใจสำคัญของพี่น้องชาวเกษตรกร ดังนั้นการทำความรู้จักโรคพืชที่เกิดในหน้าฝนบ่อย ๆ จะช่วยให้พี่น้องเกษตรกรสังเกตได้ไว ลดโอกาสการแพร่ระบาดจนกระทบผลผลิตเป็นวงกว้างได้มากขึ้น

1. โรคใบไหม้ (Leaf Blight)

โรคใบไหม้ หรือใบเหี่ยว เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium Oxysporum ซึ่งจะมาจากการสะสมความชื้นในพืชมากเกินไปแล้วมาเจอกับอุณหภูมิสูง ทำให้ใบไหม้และเหี่ยวแห้งเป็นหย่อม ๆ และจะค่อย ๆ ลามไปยังส่วนลำต้น ในท้ายที่สุดอาจมีผลเน่า และพืชก็จะตายลงในที่สุด

  • พืชที่มักเจอโรค: ข้าว มะเขือเทศ มันฝรั่ง พริก มะเขือ
  • ลักษณะอาการ: ใบมีจุดสีน้ำตาลดำ แห้งไหม้เป็นหย่อม ๆ ผลเริ่มเน่า
  • วิธีป้องกัน: ใช้สารชีวภัณฑ์ ตัดใบที่ติดเชื้อ หลีกเลี่ยงให้น้ำช่วงเย็นเพื่อไม่ให้ความชื้นสะสม

2. โรครากเน่า โคนเน่า (Root/Stem Rot)

โรครากเน่า โคนเน่า เป็นโรคพืชที่เกิดในหน้าฝนที่แพร่กระจายได้เร็วเป็นวงกว้าง เกิดจากเชื้อรา Phytophthora ซึ่งกำจัดได้ยาก หรืออาจเกิดจากความชื้นสะสมมากเกินไปก็ได้เช่นกัน โดยเฉพาะกับพืชที่มีลักษณะเป็นทรงพุ่ม หรือพืชเลื้อย เป็นต้น

  • พืชที่มักเจอโรค: พริก ฟักทอง แตงโม
  • ลักษณะอาการ: รากเป็นสีน้ำตาลช้ำ เน่า ปลายใบกิ่งสีซีด ไม่เงา ใบเหลือง
  • วิธีป้องกัน: พรวนดินก่อนลงเมล็ดพันธุ์ให้ร่วนซุยระบายน้ำได้ดี หลีกเลี่ยงการให้น้ำมากเกินไปโดยเฉพาะในช่วงเย็นที่มีอัตราการระเหยน้อย

3. โรคราน้ำค้าง (Downy Mildew)

โรคราน้ำค้าง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา Peronosporaparasitica โดยลักษณะคือจะมีจุดดำ ๆ บริเวณใต้ใบอยู่เป็นกลุ่ม และมีราคล้ายผงแป้งกระจายทั่วใบ หากโรคเริ่มรุนแรงจะมีแผลที่ใบตอนล่าง ก่อนจะเริ่มลุกลามไปยังด้านบน และใบไม้จะเริ่มแห้ง

  • พืชที่มักเจอโรค: แตงกวา แตงโม ผักกาดขาว และกะหล่ำปลี
  • ลักษณะอาการ: มีจุดสีดำละเอียดเป็นกลุ่มใต้ใบ และมีราสีขาวคล้ายผงแป้งกระจายทั่วใบ
  • วิธีป้องกัน: ฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ตั้งแต่ระยะต้นกล้า, เว้นระยะปลูก, หากเกิดเชื้อราในตอนที่ต้นเริ่มโตแล้ว ให้ใช้ยาป้องกันโรคพืชเป็นเชื้อราที่มีสารทองแดงเป็นส่วนประกอบ

4. โรคใบจุด (Leaf Spot)

โรคใบจุด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา Alternaria Brassicae ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้ผ่านลม ฝน รวมถึงแมลงพาหะ หรืออาจติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้

  • พืชที่มักเจอโรค: ผักกาด คะน้า และถั่ว
  • ลักษณะอาการ: มีจุดกลมสีน้ำตาลบนใบ ใบแห้งหลุดร่วง
  • วิธีป้องกัน: พ่นน้ำหมักชีวภาพ ถอนต้นที่ติดเชื้อแล้วเผา และก่อนลงเมล็ดพันธุ์ลงแปลงให้นำไปแช่น้ำอุณหภูมิ 50 องศาเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง

5. โรคราสนิม (Rust)

โรคราสนิม เป็นโรคที่สังเกตได้ง่ายและเห็นชัด เกิดจากเชื้อราที่ปลิวมาตามลม ซึ่งเชื้อราตัวนี้สามารถเจริญเติบโตบนพืชได้ไวภายในเวลา 2-3 ชั่วโมง และถึงแม้ใบไม้จะร่วงลงจากต้นแล้ว เชื้อราที่อยู่บนใบก็ยังสามารถมีชีวิตอยู่ต่อได้ถึง 8 สัปดาห์

  • พืชที่มักเจอโรค: ถั่วเหลือง และข้าวโพด
  • ลักษณะอาการ: จุดสนิมสีน้ำตาลส้มบนใบ
  • วิธีป้องกัน: ใช้สารชีวภัณฑ์กำจัดเชื้อรา หมุนเวียนแปลงปลูก ไม่รดน้ำชุ่มเกินไป และกำจัดวัชพืชนอกฤดูปลูก

อ่านบทความน่าสนใจเพิ่มเติม : เกษตรกรยุคใหม่ต้องรู้! ใช้ซี่คราดสปริงกำจัดวัชพืช เพิ่มออกซิเจนให้ดินในไร่อ้อย

วิธีรับมือโรคพืชหน้าฝนแบบปลอดภัย ไม่ใช้สารเคมีรุนแรง

พี่น้องเกษตรกรหลายคนที่เจอปัญหาโรคพืชอาจเลือกใช้สารเคมีกำจัดเพื่อความรวดเร็ว แต่รู้หรือไม่ว่านอกจากจะทำให้พืชมีสารตกค้างแล้ว ยังเป็นการป้องกันที่ปลายเหตุและไม่ยั่งยืนอีกด้วย การหันมาทำการเกษตรอินทรีย์ที่ใส่ใจตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมดิน เลือกท่อนพันธุ์ และเตรียมวิธีรับมือต่าง ๆ จะช่วยให้พี่น้องเกษตรกรป้องกันโรคพืชได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น

โดยวิธีรับมือกับโรคพืชหน้าฝนแบบปลอดภัย มีวิธีดังนี้

  • เริ่มที่การป้องกันเชิงรุก เช่น การพรวนดินให้ละเอียดร่วนซุย อุ้มน้ำ แต่ยังระบายน้ำได้ดี อาจใช้ตัวช่วยอย่างผานพรวนที่จะช่วยบดดินให้ละเอียด เหมาะแก่การเพาะปลูกมากยิ่งขึ้น
  • เลือกท่อนพันธุ์ต้านทานโรค และคัดท่อนพันธุ์หรือเมล็ดพันธุ์ที่ติดโรคทิ้ง
  • ใช้สารชีวภัณฑ์กำจัดเชื้อรา โดยควรใช้ตั้งแต่ยังเป็นระยะต้นกล้า
  • คอยสังเกตอาการ และแยกต้นที่ติดเชื้อออกจากแปลงเสมอเพื่อป้องกันการติด การแพร่กระจายของโรค

นอกจากนี้การเลือกอุปกรณ์การเกษตรที่เหมาะกับชนิดของพืชและสภาพดินก็จะช่วยให้การเตรียมดินเพาะปลูกนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยถ้าต้องเตรียมดินในพื้นที่ดินเปียก เช่น ดินนา หรือดินช่วงหน้าฝน อาจใช้เป็นจอบหมุนโรตารี่ที่มีพื้นที่การทำงานกว้าง จบงานได้ไว และเหมาะสำหรับการทำงานในสภาพดินเปียก เป็นต้น

วิธีเตรียมแปลงปลูกให้พร้อมก่อนหน้าฝน

สำหรับการเตรียมแปลงปลูกพืชในช่วงหน้าฝนนั้น พี่น้องเกษตรกรควรเตรียมดินโดยคำนึงถึงเรื่องการระบายน้ำให้ได้มากที่สุด โดยสามารถทำได้ตั้งแต่การปรับหน้าดินให้ละลายน้ำได้ดี ถ้าพื้นที่การเกษตรมีเศษผลผลิตเก่าเหลือเยอะ หรือต้องการปรับหน้าดินชั้นบนก่อนเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด แนะนำให้ใช้ผานบุกเบิกเพื่อเปิดหน้าดินก่อน จากนั้นค่อยเตรียมพรวนดินในขั้นตอนต่อไป

นอกจากนี้การยกแปลงปลูกหรือทำร่องน้ำก็เป็นวิธีที่จะช่วยให้ลดการขังของน้ำในช่วงหน้าฝนได้ เพราะน้ำฝนจะไหลลงร่องน้ำ ไม่ขังอยู่กับรากพืช รวมถึงการจัดระยะห่างระหว่างต้นไม่ให้ชิดกันเกินไปเพื่อระบายความชื้น ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นวิธีที่จะช่วยให้การปลูกพืชหน้าฝนไม่เสี่ยงติดโรคพืชได้

FAQ : รวมคำถามเรื่องโรคพืช ตอบทุกข้อสงสัยป้องกันพืชจากโรคร้าย

เพื่อไม่ให้โรคพืชเข้ามาทำลายผลผลิตที่อาจเป็นกำไรของพี่น้องเกษตรกรในอนาคต เราได้รวมคำตอบของทุกข้อสงสัยเรื่องโรคพืชมาไว้ให้แล้ว ที่นี่!

Q: โรคพืชช่วงหน้าฝนที่อันตรายที่สุดคืออะไร?
A: โรครากเน่า เพราะทำให้พืชตายได้ทั้งต้น

Q: ใช้สารเคมีกำจัดโรคพืชได้ไหม? ปลอดภัยหรือเปล่า?
A: ควรใช้เฉพาะกรณีจำเป็น ทางที่ดีควรเลือกใช้สารชีวภัณฑ์เป็นทางเลือกแรก และป้องกันตั้งแต่ช่วงการเพาะปลูกในระยะต้นกล้า

Q: มีพืชที่ต้านทานโรคช่วงหน้าฝนไหม?
A: มี เช่น พันธุ์ข้าวต้านโรคใบไหม้ ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังทนโรค หรือพริกพันธุ์ลูกผสมที่ทนโรคโคนเน่า

Q: จะรู้ได้ยังไงว่าพืชเป็นโรค?
A: ดูที่ใบ ลำต้น หรือผล ถ้ามีจุดแปลก ๆ สีดำ สีน้ำตาล ใบแห้ง ใบหล่น หรือเน่า ควรรีบแยกต้นที่เป็นออกทันที

Q: ป้องกันโรคพืชหน้าฝนได้อย่างไร?

  • ยกแปลงให้ระบายน้ำได้ดี
  • คอยป้องกันไม่ให้น้ำขัง
  • ทำระยะปลูกห่างกันให้ลมพัดผ่านได้
  • ใช้ปุ๋ยชีวภาพและสารธรรมชาติป้องกันเชื้อรา

ป้องกันโรคพืชหน้าฝนได้ ถ้ารู้ทันและวางแผนล่วงหน้า

การรู้จักโรคพืชจะช่วยให้พี่น้องเกษตรกรจัดการแยกพืชที่เป็นโรคได้ไว ลดความเสี่ยงที่จะแพร่กระจายไปยังต้นอื่น ๆ ในแปลง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นคือการป้องกันโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยเตรียมตั้งแต่การระบายน้ำในดิน การคัดเลือกพันธุ์พืช การกำจัดวัชพืชที่อาจเป็นแหล่งที่อยู่ของแบคทีเรีย และการใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อป้องกันเชื้อราที่มักเกิดบ่อยในหน้าฝน

การทำงานเกษตรเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทั้งเวลาและความใส่ใจ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่คุ้มค่า เป็นกำไรและต่อยอดอาชีพได้ในอนาคต CMT เล็งเห็นความสำคัญของการวางระบบเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืน เราจึงได้พัฒนาเทคนิคเครื่องมือการเกษตรที่พร้อมจะเป็นพลังให้เกษตรกรไทย อำนวยความสะดวก สร้างประสิทธิภาพในการเตรียมดินด้วยอุปกรณ์คุณภาพสูง ใช้งานได้นาน แข็งแรงทนทาน มั่นใจได้ทุกสภาพดิน

สนใจผลิตภัณฑ์ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านช่องทาง


บทความที่เกี่ยวข้อง
เทคนิคแกล้งข้าวเพิ่มผลผลิต
ทำความรู้จักเทคนิคแกล้งข้าว เทคนิคเพิ่มผลผลิตข้าวได้จริง เป็นการพัฒนาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน สู่การวิจัยที่เป็นวิธีปลูกข้าวให้มีศักยภาพสูงสุดสำหรับเกษตรกรไทย
แนะนำ 7 พืชปลูกหน้าฝน
แนะนำ 7 พืชเศรษฐกิจทำเงินหน้าฝนที่ปลูกง่าย โตเร็ว และขายได้จริง สำหรับใครที่กำลังคิดว่าหน้าฝนปลูกอะไรดีที่ทนฝน ได้ผลผลิตดี กำไรงาม บทความนี้มีคำตอบ!
เคล็ดลับปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่มีบทบาทในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ รวมเคล็ดลับการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ให้ฝักใหญ่ เมล็ดแน่น น้ำหนักดี ขายได้ราคาดี
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy