บอกทีละขั้นตอน! วิธีประกอบชุดก้ามปูให้แน่น ทน ใช้งานได้จริงในไร่
บอกทีละขั้นตอน! วิธีประกอบชุดก้ามปูให้แน่น ทน ใช้งานได้จริงในไร่
พี่น้องเกษตรกรท่านไหนที่กำลังใช้งานชุดก้ามปู แล้วเจอปัญหาหลวม หลุด แตกง่าย ทำให้ใช้งานไม่ได้นาน บอกเลยว่าถ้ากำลังอ่านบทความนี้อยู่จะไม่เจอปัญหาเหล่านี้อีกต่อไป เพราะบทความนี้ CMT จะมาสอนวิธีประกอบก้ามปูผานไถแบบทีละขั้นตอน เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรสามารถประกอบได้ถูกต้อง และเมื่อชุดก้ามปูแน่น ก็จะใช้งานได้นานโดยที่ไม่ต้องซ่อมบ่อย ๆ อีกด้วย
นอกจากนี้ท้ายบทความยังมีเคล็ดลับเสริมที่จะช่วยให้ใช้งานชุดก้ามปูได้นาน ไม่สึกง่ายมาบอกด้วย ไม่รอช้า เราไปดูกันเลย
ชุดก้ามปูคืออะไร? ทำหน้าที่อะไรในระบบผานไถ
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับชุดก้ามปูผานไถกันก่อนว่าคืออะไร ชุดก้ามปู คืออะไหล่ผานไถที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการยึดใบผานให้ทำงานได้ โดยจะช่วยเชื่อมใบผานเข้ากับดุมและขาไถเข้าด้วยกัน
เนื่องจากชุดก้ามปูเป็นบริเวณที่จะต้องรับแรงกระแทกและแรงดึงตลอดการใช้งาน ดังนั้นถ้าประกอบไม่แน่นก็อาจทำให้เกิดความเสียหายตั้งแต่จุดเล็ก ๆ ไปจนถึงใหญ่ได้ เพราะหากผานหลวม การทำงานก็จะไม่ได้ประสิทธิภาพ และการปล่อยทิ้งไว้ไปนาน ๆ อาจทำให้ผานไถพัง ทำให้ต้องซ่อมบำรุงผานไถบ่อย ๆ หรือหนักที่สุดอาจต้องเปลี่ยนอะไหล่ยกชุด เป็นต้น
เตรียมอุปกรณ์ก่อนเริ่มประกอบชุดก้ามปู
เพื่อไม่ให้ผานไถ อุปกรณ์การเกษตรคู่ใจของพี่น้องเกษตรต้องพังก่อนเวลาอันควร เรามาดูวิธีประกอบก้ามปูผานไถให้แน่นพร้อมใช้งานกันดีกว่า โดยก่อนที่จะไปทำการประกอบนั้น ให้พี่น้องเกษตรกรเตรียมอุปกรณ์ต่อไปนี้ให้พร้อม
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม ได้แก่
- ชุดก้ามปู ได้แก่ ขาก้าม แหวน สลัก และน็อต
- ประแจหรือเครื่องมือขันน็อต
- จาระบีเบอร์ 2
- ผ้าเช็ดทำความสะอาด
- ถุงมือสำหรับงานเกษตร
อ่านบทความน่าสนใจเพิ่มเติม : เกษตรกรห้ามพลาด! วิธีประกอบดุมล้อหาง CMT ง่ายๆ ทำเองได้ที่บ้าน
วิธีประกอบชุดก้ามปูแบบทีละขั้นตอน ทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองที่บ้าน
ถ้าเตรียมอุปกรณ์ที่กล่าวไปด้านบนครบแล้ว ทีนี้มาดูวิธีประกอบก้ามปูผานไถกันเลยว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง และแนะนำว่าให้มีผู้ช่วยประมาณ 2-3 คน เนื่องจากอุปกรณ์แต่ละชิ้นค่อนข้างมีน้ำหนัก หากทำคนเดียวอาจเกิดอันตรายได้
1. ตรวจสอบความเรียบร้อยของชิ้นส่วน
เริ่มจากการตรวจสอบว่าชุดก้ามปูไม่มีรอยร้าวหรือผิดรูป หากมีให้ทำการเปลี่ยนอะไหล่ก่อนการใช้งานเพื่อความปลอดภัย และทำความสะอาดไม่ให้มีฝุ่นหรือเศษสนิมเกาะอยู่บนแต่ละชิ้นส่วน รวมถึงทำความสะอาดพื้นที่บริเวณที่จะประกอบชุดก้ามปูด้วย
2. เริ่มประกอบชุดก้ามปู
วางแผ่นหางก้ามปูกับพื้นระนาบ จากนั้นนำตัวก้ามปูมาประกบกัน โดยจัดวางให้ทั้งสองชิ้นส่วนเสมอกัน
ใส่แกนสลัก (ลักษณะเป็นแท่นเหล็กสีทอง) ในรูของชุดก้ามปู โดยหมุนให้รอยบากตรงกับบริเวณรูน็อตบนชุดก้ามปู
ใส่น็อตลงไปจนสุด โดยไม่ต้องเอาตัววงแหวนบนน็อตออก สามารถขันลงไปพร้อมกันได้เลย ขันให้แน่นทั้งตัวน็อตและตัวแหวนน็อต
3. ตีลูกปืนเข้าทั้งสองฝั่งของแกนก้ามปู
ตรงข้อต่อของก้ามปูจะมีจุดที่ต้องตีลูกปืนอยู่ 2 ฝั่ง โดยแต่ละฝั่งจะใช้เป็นลูกปืนที่มีฝาและลูกปืนธรรมดา หากไม่ทราบว่าลูกปืนตัวไหนเป็นประเภทอะไร สามารถสังเกตได้จากรหัสบนลูกปืน CMT ดังนี้
- ลูกปืนที่มีฝา : BR6206A
- ลูกปืนธรรมดา : BR6206Z
เมื่อเตรียมลูกปืนเรียบร้อยแล้ว ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
- ทาจาระบีเบอร์ 2 บริเวณด้านในเกลียวลูกปืน
- ใส่ลูกปืนด้านมีฝาลงก่อน โดยใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดกลมพอดีกับลูกปืนรองพื้น แล้วใช้ค้อนตอกลูกปืนจนสุด ไม่ควรตอกกับลูกปืนโดยตรงเพราะอาจทำให้ลูกปืนเสียรูปได้
- ทาจาระบีเบอร์ 2 บนลูกปืนธรรมดา วางลูกปืนด้านที่ทาจาระบีลงเกลียว จากนั้นทำการตอกให้สุดเหมือนเดิม
- ตีลูกปืนให้ครบทั้งสองด้าน
ข้อสังเกตว่าตีลูกปืนสุดหรือยังนั้น สามารถสังเกตได้ว่าลูกปืนจะอยู่แนวระนาบเดียวกับหัวสลักที่ได้ทำการใส่ไปในตอนแรก
4. ปิดฝาด้วยประแจหมุน
หากตีลูกปืนสุดแล้วให้ทำการปิดฝาด้วยประแจหมุนที่แถมมากับชุด โดยฝาด้านซ้ายจะเป็นสีขาว มีสัญลักษณ์ (L) ส่วนฝาด้านขวาจะเป็นสีตามชุดไถ มีสัญลักษณ์ (R) และต้องไม่ลืมใส่จาระบีให้เต็มฝาด้านในด้วย
5. ตรวจสอบความแน่นอีกครั้งก่อนใช้งาน
ใช้แรงมือโยกดูว่ามีการคลอนหรือไม่ ถ้ามีเสียงหรือหมุนแล้วรู้สึกหลวม ให้ขันเพิ่มจนแน่น
เคล็ดลับให้ก้ามปูใช้งานได้นานและไม่สึกง่าย
สำหรับเคล็ดลับในการใช้งานก้ามปูให้ได้นานและไม่สึกง่าย สามารถทำได้ตามวิธีดังนี้
- หยอดจาระบีซ้ำทุก 1-2 เดือน
- หมั่นตรวจสภาพน็อตว่าแน่นหรือหลุดหลวมหรือไม่
- หากใช้งานในพื้นที่หินหรือดินแข็ง ควรเลือกก้ามปูวัสดุหนาและแข็งแรงเป็นพิเศษ
ปัญหาที่พบบ่อยเมื่อประกอบก้ามปูผิดวิธี และวิธีแก้
ปัญหาที่พบได้บ่อยในการประกอบชุดก้ามปูสำหรับรถไถคือ ตีลูกปืนไม่สุดมากพอ ใส่ลูกปืนผิดลำดับ หรือสลับฝาซ้ายขวา ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของผานไถไม่สมบูรณ์ได้ ดังนั้นก่อนการประกอบชุดก้ามปูแต่ละฝั่ง อย่าลืมสังเกตสัญลักษณ์บนฝา และรหัสบนลูกปืน เพื่อที่จะได้ประกอบได้อย่างถูกต้อง
นอกจากปัญหาประกอบผิดวิธีแล้ว ยังมีปัญหาเศษฝุ่น เศษหินเข้าไปติดในลูกปืน ทำให้ลูกปืนแตกเร็ว ต้องเสียเงินซื้อลูกปืนชุดใหม่ ในการประกอบชุดก้ามปู พี่น้องเกษตรกรจึงควรเตรียมพื้นที่ให้สะอาด ไม่มีเศษหินหรือฝุ่น โดยอาจปูแผ่นไวนิลที่สะอาดบนพื้นเรียบเพื่อที่จะได้ทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น
FAQ : ตอบทุกคำถามเรื่องชุดก้ามปูผานไถ
รู้วิธีประกอบชุดก้ามปูผานไถกันแล้ว เชื่อว่าพี่น้องเกษตรกรหลายท่านน่าจะอยากรู้เกี่ยวกับการใช้งานชุดก้ามปูกันบ้าง มาดูกันว่ามีคำตอบที่พี่น้องเกษตรกรกำลังสงสัยอยู่หรือไม่กัน
Q: ใช้ก้ามปูได้กี่ฤดูถึงต้องเปลี่ยน?
A: ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน โดยเฉลี่ยสามารถใช้ได้นานถึง 2-3 ฤดู ถ้าหมั่นดูแลอาจใช้งานได้เกินปี
Q: ถ้าใบผานขยับหรือเสียงดัง เกิดจากก้ามปูหรือเปล่า?
A: อาจเป็นไปได้ว่าชุดก้ามปูหลวม ให้หยุดทำงานแล้วตรวจเช็กความแน่นของน็อตบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ทันที
Q: ซื้อก้ามปูจากที่ไหนได้บ้าง?
A: ร้านจำหน่ายอะไหล่เกษตรทั่วไป หรือร้านออนไลน์ที่ขายผานไถและอะไหล่แท้ โดยอะไหล่แท้จาก CMT จะมีโลโก้บนอะไหล่ทุกชิ้น เพื่อการันตีคุณภาพและบ่งบอกว่าเป็นของแท้
ประกอบชุดก้ามปูให้แน่น ใช้ได้นาน ลดต้นทุนซ่อม
จบกันไปแล้วสำหรับวิธีประกอบก้ามปูผานไถ จะเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้วขั้นตอนประกอบชุดก้ามปูนั้นไม่ยากเลย เพียงแต่ต้องประกอบให้ถูกต้องตามลำดับขั้นตอน และต้องขันให้แน่นจึงจะสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้การหมั่นตรวจเช็กความเรียบร้อยของผานไถยังช่วยให้พี่น้องเกษตรกรสามารถใช้งานผานได้ยาวนานเต็มอายุอีกด้วย
หากพี่น้องเกษตรกรกำลังมองหาอะไหล่ผานไถ ชุดก้ามปู หรืออุปกรณ์ช่วยประกอบต่าง ๆ CMT มีอุปกรณ์และอะไหล่การเกษตรพร้อมจำหน่าย ทุกชิ้นผลิตจากเหล็กคุณภาพสูง มั่นใจใช้งานได้นาน เพื่อให้ทุกการลงทุนของพี่น้องเกษตรกรชาวไทยคุ้มค่า พร้อมลุยทุกงานเกษตรเคียงคู่ชาวไร่
สนใจผลิตภัณฑ์ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านช่องทาง
- CMT Thailand เบอร์ +66 38 273 250 to 7
- Facebook Page: Cmt ชลบุรีเมืองทอง ไถดีที่สุด -เพจหลักเพจเดียว
- สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน LINE Official @cmt1955