แชร์

ปุ๋ยอินทรีย์ VS ปุ๋ยเคมี ต่างกันยังไง? ใช้อย่างไรให้เหมาะ?

อัพเดทล่าสุด: 2 พ.ค. 2025
156 ผู้เข้าชม

ปุ๋ยอินทรีย์ VS ปุ๋ยเคมี ต่างกันยังไง? ใช้อย่างไรให้เหมาะกับพืชและดิน?

การทำการเกษตร ปุ๋ย คือสิ่งที่แทบขาดไม่ได้เลยในการบำรุงพืช ซึ่งพี่น้องชาวเกษตรกรนั้นน่าจะรู้ดีอยู่แล้วว่า ปุ๋ยมีอยู่ 2 ประเภท คือ ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี แต่ก็จะมีข้อควรระวังในเรื่องของการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับพืช รวมถึงคุณภาพของปุ๋ยด้วยเช่นกัน

ดังนั้นในบทความนี้ CMT จะมาอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีให้พี่น้องเกษตรกรได้รู้ว่าจะต้องเลือกยังไงให้เหมาะกับพืชที่ตนเองปลูก ข้อดีข้อเสียของปุ๋ยทั้งสองประเภทมีอะไรบ้าง และเคล็ดลับการใช้ปุ๋ยที่เหมาะกับดินแบบครบจบ เรียกได้ว่าอ่านจบแล้วเลิกปวดหัวเรื่องซื้อปุ๋ยไปได้เลย!

ปุ๋ยอินทรีย์คืออะไร? ทำไมเกษตรกรยุคใหม่หันมาใช้กันมากขึ้น

ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสดหรือปุ๋ยที่ที่มีรากพืชผสม ซึ่งปุ๋ยอินทรีย์จะใช้กระบวนการผลิตที่หลีกเลี่ยงสารเคมีสังกะสี และใช้วิธีการทางชีวภาพเป็นหลัก

ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต่อดินและพืช มีดังนี้

  • ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชด้วยสารอาหารที่จำเป็นและมีประโยชน์
  • ปลอดสารเคมี และปลอดภัยกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ
  • ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน ทำให้ดินมีคุณภาพดี โปร่งและร่วนซุย เหมาะสำหรับการเพาะปลูกมากขึ้น
  • ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดิน
  • ลดมลพิษ โดยเฉพาะในแหล่งน้ำต่าง ๆ หรือน้ำขังจากการรดน้ำต้นไม้ที่ผสมกับปุ๋ยในดิน
  • เป็นการเกษตรยั่งยืน ทั้งช่วยลดมลพิษและช่วยสร้างคุณประโยชน์ทางชีวภาพในดิน

ปุ๋ยเคมีคืออะไร? เหมาะกับการใช้งานแบบไหน

มาต่อกับประเภทของปุ๋ยเคมีกันบ้าง พี่น้องเกษตรกรสามารถแยกได้ง่าย ๆ ว่าปุ๋ยเคมีคืออะไรจากชื่อที่ตรงตัว เพราะปุ๋ยเคมีจะใช้สารเคมีในการผลิตปุ๋ย มีสารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชในรูปแบบสังเคราะห์ และใช้กระบวนการทางเคมีที่มีการปรับสูตรมาให้เหมาะกับความต้องการของพืชแล้ว

นอกจากนี้ปุ๋ยเคมียังมีจุดสังเกตง่าย ๆ คือ สูตรปุ๋ย N-P-K โดยมาจาก ไนโตรเจน (N) แทน ใบ - ฟอสฟอรัส (P) แทน ดอก - โพแทสเซียม (K) แทน ผล หรือจำง่าย ๆ ว่า ใบ-ดอก-ผล ซึ่งจะเป็นตัวเลขบอกปริมาณสารอาหารที่พืชต้องการเรียงตามลำดับ เช่น ปุ๋ย 13-13-13 ก็จะหมายความว่ามีไนโตรเจน 13 ฟอสฟอรัส 13 และโพแทสเซียม 13 นั่นเอง หากพี่น้องเกษตรกรจำสูตรได้ก็จะทำให้เลือกปุ๋ยเคมีได้เหมาะกับความต้องการในการปลูกพืชมากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น นายไก่ อยากได้ปุ๋ยเคมีที่ช่วยเร่งการออกผล ก็ให้เน้นสูตรปุ๋ยที่มีสัดส่วน K หรือโพแทสเซียมเยอะมากกว่าสัดส่วนอื่น ๆ เป็นต้น

จุดเด่นปุ๋ยเคมี มีดังนี้

  • ดูดซึมได้เร็ว ช่วยเรื่องการเจริญเติบโตของพืชได้ตรงจุด
  • ตอบโจทย์เรื่องพืชโตไว
  • มีสารอาหารแน่นอน เพราะมีการคำนวณปริมาณสารอาหารในระหว่างกระบวนการผลิตเรียบร้อยแล้ว
  • ช่วยเพิ่มผลผลิต

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ปุ๋ยเคมีก็มีความเสี่ยงและข้อควรระวังที่พี่น้องเกษตรควรรู้ นั่นคือ หากใช้ในปริมาณมาก ๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้ทำการปรับปรุงหรือบำรุงดิน จะทำให้พื้นที่ดินตรงนั้นกลายเป็นกรด ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชด้วยเช่นกัน

เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี

ทราบกันไปแล้วว่าปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์คืออะไร ทีนี้เราลองมาดูข้อดีข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมีกันว่า ทั้งสองประเภทเมื่อเทียบกันชัด ๆ แล้วมีจุดไหนแตกต่างกันบ้าง ดูง่าย ๆ ได้ในตาราง

เลือกใช้ปุ๋ยให้เหมาะกับพืชและสภาพดิน

ถึงแม้ว่าปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีจะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน แต่ในการใช้งาน พี่น้องเกษตรกรก็ควรเลือกใช้ปุ๋ยให้เหมาะกับพืชและสภาพดิน เพื่อให้ปุ๋ยนั้นมีประสิทธิภาพได้สูงสุด ดังนั้นลองมาดูกันว่า เราจะมีวิธีการเลือกปุ๋ยได้อย่างไรบ้าง

วิเคราะห์สภาพดิน

จากคุณสมบัติของปุ๋ยบางประเภทที่มีประสิทธิภาพในการปรับปรุงดิน พี่น้องเกษตรกรจึงควรวิเคราะห์ดินในพื้นที่ก่อนว่ามีระดับสารอาหารมากน้อยเท่าไหร่ รวมถึงวัดค่า pH เพื่อที่จะได้เลือกใช้ปุ๋ยให้เหมาะสม โดยพี่น้องเกษตรกรสามารถเก็บตัวอย่างดินส่งไปที่ สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

ดูวิธีเก็บตัวอย่างดินเพิ่มเติมได้ที่บทความ : เทคนิคเตรียมดินปลูกอ้อยฉบับเกษตรกรตัวจริง ให้ผลผลิต 30 ตันต่อไร่

เลือกปุ๋ยให้เหมาะกับพืชแต่ละชนิด

ปุ๋ยแต่ละสูตรก็เหมาะกับพืชชนิดแตกต่างกัน เช่น พืชใบ พืชหัว พืชผล โดยให้สังเกตจากตัวเลขปริมาณสารอาหารที่ระบุไว้หน้าถุงหรือบรรจุภัณฑ์

เลือกปุ๋ยให้เหมาะกับสภาพดิน

สภาพดินก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการเลือกใช้ปุ๋ยด้วยเช่นกัน อย่างเช่น ปุ๋ยบางชนิดจะละลายในน้ำได้ดี จึงอาจไม่เหมาะกับการใช้ในดินเหนียว เหมาะกับการใช้ในดินทรายมากกว่า หรือหากพื้นที่ดินเสื่อมโทรม อาจเลือกใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับโครงสร้างดินให้มีคุณภาพพร้อมเพาะปลูกมากขึ้นจึงจะดีกว่า

เคล็ดลับการใช้ปุ๋ยแบบผสมผสานเพื่อผลผลิตที่ยั่งยืน

ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีก็มีจุดเด่นข้อดีที่แตกต่างกัน และถึงแม้ว่าจะชื่อปุ๋ยเคมีก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ปุ๋ยเคมีก็สามารถสร้างคุณประโยชน์ให้กับพืชได้ หากพี่น้องชาวสวนเลือกใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งเราขอแนะนำเคล็ดลับการใช้ปุ๋ยแบบผสมผสานเพื่อให้ได้ผลผลิตสมบูรณ์ แต่ยังคงเป็นไปตามแนวทางเกษตรยั่งยืนอยู่ ดังนี้

1. ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี 

เพื่อให้ปุ๋ยอินทรีย์ช่วยปรับปรุงโครงสร้างและความหลากหลายทางชีวภาพในดินร่วมกับการเจริญเติบโตของพืช สร้างสมดุลในดิน ในขณะที่ปุ๋ยเคมีใช้เพื่อความรวดเร็วในการได้ผลผลิต

2. เพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ยด้วยการใส่ปุ๋ยตามช่วงเวลา

หากพี่น้องเกษตรกรใส่ปุ๋ยช่วงกลางวัน ปุ๋ยอาจจะระเหยเร็วและทำปฏิกิริยาได้ช้า จึงแนะนำให้ใส่ปุ๋ยในช่วงเช้าหรือเย็นเพื่อลดการระเหย เพิ่มอัตราการดูดซึมสารอาหารของพืช และเพื่อให้พืชได้รับปุ๋ยอย่างทั่วถึง ปัจจุบันก็มีนวัตกรรมเครื่องพ่นปุ๋ยในรูปแบบติดบนรถแทรกเตอร์ ทำให้สามารถฉีดพ่นปุ๋ยได้รวดเร็ว และยังพ่นในปริมาณที่แม่นยำเท่ากันอีกด้วย

3. แนวคิดเกษตรอินทรีย์ยุคใหม่ ใช้ปุ๋ยแบบใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ปุ๋ยบางประเภทจะทิ้งสารตกค้างเอาไว้ในดิน ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจส่งผลทั้งต่อกับพืช และตัวพี่น้องเกษตรกรเองได้ ดังนั้นจึงควรหาข้อมูลว่าปุ๋ยที่ต้องการใช้นั้นมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน และเน้นไปที่การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อให้การเกษตรยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด

ข้อควรระวังในการใช้ปุ๋ย

แน่นอนว่า ปุ๋ย เป็นปัจจัยการเกษตรที่จะช่วยให้พืชในไร่ของชาวสวนทุกคนเจริญงอกงามและแข็งแรงมากยิ่งขึ้น แต่อะไรที่มากไปหรือไม่เหมาะสมก็อาจส่งผลกระทบในทางลบให้กับพืชของเราได้ ดังนั้นพี่น้องชาวเกษตรกรจึงต้องจำข้อควรระวังของการใช้ปุ๋ยเหล่านี้เอาไว้ให้ขึ้นใจเลย

1. ไม่ควรใช้ปุ๋ยเกินขนาด

หากใช้ปุ๋ยเกินขนาดอาจทำให้เกิด ใบไหม้ ได้ เนื่องจากมีความเข้มข้นภายในดินสูงมากเกินไป รากพืชขาดความชุ่มชื้น เกิดความไม่สมดุลบริเวณราก ทำให้พีชต้องดึงน้ำจากใบลงมาใช้ และเมื่อใบพืชที่เจอแสงแดดตลอดวันได้รับน้ำไม่เพียงพอ ก็จะทำให้ใบไหม้ได้นั่นเอง

2. ใช้ปุ๋ยไม่ตรงช่วงเวลากับความต้องการของพืช

หากพี่น้องชาวสวนใส่ปุ๋ยในช่วงที่พืชไม่ได้ต้องการ อาจทำให้พืชดูดซึมสารอาหารน้อย และสูญเสียปุ๋ยไปโดยใช่เหตุจากการระเหยได้

3. ไม่พิจารณาสภาพดินก่อนใช้ปุ๋ย

พี่น้องเกษตรกรควรที่จะตรวจสอบสภาพดินทุกครั้งก่อนใส่ปุ๋ย เพื่อที่จะได้เลือกใช้ปุ๋ยให้ตรงกับสภาพดินมากขึ้น และจะได้ให้ปุ๋ยช่วยแก้ปัญหาโครงสร้างดินได้อย่างตรงจุดอีกด้วย หากใช้ปุ๋ยโดยที่ไม่ได้ตรวจสอบดินก่อน อาจทำให้คุณภาพของดินแย่ลง และทำให้พืชเจริญเติบโตช้า ไม่เร็วเท่าที่ควรด้วยเช่นกัน

ใช้ปุ๋ยให้ถูกวิธีเพื่อพืชแข็งแรง ดินดี ผลผลิตยั่งยืน

ปุ๋ย มีสองชนิด ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี ซึ่งทั้งสองแบบก็มีจุดเด่นข้อดีแตกต่างกันไป สิ่งสำคัญที่พี่น้องเกษตรกรควรคำนึงถึงในการใช้ปุ๋ยคือความเหมาะสมของการใช้ปุ๋ย และการผสมผสานปุ๋ยทั้งสองชนิดเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อพืชมากที่สุด เช่น หากต้องการผลผลิตสูง ก็ให้เลือกปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีสัดส่วน K หรือโพแทสเซียมสูง เป็นต้น รวมถึงใช้ปุ๋ยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรืออย่างน้อยส่งผลกระทบให้น้อยมากที่สุด เพราะการเกษตรยั่งยืนนั้น เริ่มที่การใส่ใจดินและปุ๋ย เพื่อที่จะได้สร้างอาชีพให้เหล่าเกษตรกรได้รับรายได้อย่างมั่นคง

หากพี่น้องเกษตรกรต้องการตัวช่วยในการพ่นปุ๋ยให้กับพืชในไร่ที่แข็งแรง ทนทาน ใช้งานได้จริง CMT คือตัวจริงเรื่องเครื่องมือเกษตร เราออกแบบและผลิตเครื่องพ่นยาติดรถไถคุณภาพสูง ละอองพ่นละเอียด พ่นได้ไกล รองรับการใส่ปุ๋ยปริมาณมาก ตอบโจทย์ทุกไร่สวนของพี่น้องเกษตรกร

สนใจผลิตภัณฑ์ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านช่องทาง


บทความที่เกี่ยวข้อง
เกษตรกรต้องรู้! เหล็กโบรอน vs เหล็กคาร์บอน เลือกแบบไหนดี? เจาะลึกข้อแตกต่างก่อนเลือกซื้อจานไถ
จานไถ เลือกวัสดุแบบไหนดี แนะนำข้อแตกต่างระหว่างเหล็กโบรอน และเหล็กคาร์บอน แบบไหนแข็งแรงทนทาน อ่านข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพื่อความคุ้มค่าในการลงทุน
เทคนิคการใช้น้ำหยดให้อ้อยงามในหน้าแล้ง เพิ่มผลผลิตเต็มไร่
เทคนิคปลูกอ้อยหน้าแล้งด้วย “ระบบน้ำหยด” วิธีที่จะช่วยให้อ้อยนั้นเติบโตผ่านหน้าร้อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้นทุนแรงงานต่ำ อ้อยสมบูรณ์ ได้ผลผลิตสูง
เทคนิคเตรียมดินปลูกอ้อยข้ามแล้งฉบับเกษตรกรตัวจริง ผลผลิต 30 ตันต่อไร่ไม่ไกลเกินเอื้อม
แนะนำเทคนิคเตรียมดินปลูกอ้อย 30 ตันต่อไร่ บอกครบทั้งสาเหตุ วิธีแก้ไข และเทคนิคที่จะช่วยให้การปลูกอ้อย 30 ตันต่อไร่เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ มีกำไรคุ้มทุน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy